ระบบปฏิบัติการ >

ระบบท่อส่งน้ำมัน

ระบบ
ท่อส่งน้ำมัน

ระบบท่อส่งน้ำมัน

ระบบท่อส่งน้ำมันของแทปไลน์เป็นระบบที่สามารถขนส่งน้ำมันได้หลายชนิดภายในท่อเดียวกัน ควบคุมการขนส่งน้ำมันด้วยระบบ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition System) ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการจัดส่งน้ำมันทางท่อ โดยสามารถสั่งการไปยังสถานีสูบจ่าย คลังน้ำมันต้นทางและปลายทาง รวมทั้งจุดต่าง ๆ ของระบบท่อ การรับส่งสัญญาณข้อมูล สื่อสารกระทำผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง ซึ่งติดตั้งคู่ขนานไปกับท่อส่งน้ำมัน ระบบสามารถตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมัน โดยสามารถแจ้งสัญญาณฉุกเฉิน และควบคุมการเปิดปิดวาล์วโดยอัตโนมัติ ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

ปัจจุบันแทปไลน์ให้บริการขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อ 3 เส้นทางหลักคือ

  • ท่อส่งน้ำมันศรีราชา-สระบุรี มีความยาว 255 กิโลเมตร ออกแบบให้มีกำลังการขนส่งสูงสุด 26,000 ล้านลิตรต่อปี มีเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีสูบจ่ายน้ำมันต้นทางที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยรับน้ำมันจากโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่บางจากศรีราชา โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ คลังน้ำมันปตท. และคลังน้ำมันของบริษัท ชลบุรี เทอร์มินัล คูเวต ปิโตรเลียม เอวิเอชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อลำเลียงไปยังคลังปลายทางที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยมีท่อแยกไปที่คลังน้ำมันท่าอากาศยานดอนเมือง
  • ท่อส่งน้ำมันมาบตาพุด-ศรีราชา แทปไลน์ได้ขยายระบบท่อส่งจากศรีราชาไปเชื่อมต่อยังโรงกลั่นน้ำมันพีทีที โกลบอลเคมีคอล และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม และคลังน้ำมัน NFCT ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีความยาวท่อประมาณ 67 กิโลเมตร ออกแบบให้มีกำลังการขนส่งสูงสุด 10,600 ล้านลิตรต่อปี
  • ท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสุวรรณภูมิ แทปไลน์ได้ขยายระบบท่อส่งจากคลังน้ำมันลำลูกกาไปยังคลังน้ำมันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะทาง      38 กิโลเมตร โดยมีขีดความสามารถจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับผู้โดยสารได้ 100 ล้านคนต่อปี

ระบบท่อส่งน้ำมันได้รับการออกแบบ และก่อสร้างด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด

  • ท่อส่งน้ำมันทำด้วยเหล็กเหนียว และฝังอยู่ใต้ดิน
  • ผิวท่อทั้งภายนอกและภายในเคลือบด้วย FBE (Fusion Bonded Epoxy) เพื่อป้องกันการผุกร่อน
  • ติดตั้งระบบ Cathodic Protection System ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันการผุกร่อนของท่อ
  • มีการพอกคอนกรีตรอบนอกท่อ กรณีวางท่อใต้น้ำและดินเหลว
  • ติดตั้ง Block Valve ทุกระยะ 16 กิโลเมตร และมีผู้ดูแลประจำตลอด 24 ชม.
  • ทำความสะอาดภายในท่อด้วย Cleaning Pig ทุกปี
  • ทำการตรวจสอบการผุกร่อนของท่อด้วย Intelligence Pig ทุก 5 ปี
  • มีทีมงาน Pipeline Surveillances เพื่อเฝ้าระวังตามแนวท่อ รวมทั้งมีป้ายคำเตือนซึ่งมีเบอร์โทรฉุกเฉิน 24 ชม. ระบบการควบคุมการปฎิบัติการท่อส่งน้ำมันที่สำคัญ มีดังนี้
  • ระบบ ESD (Emergency Shutdown System) กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถสั่งหยุดปั๊มส่งน้ำมัน และสั่งปิด ESD วาล์วที่ต้นทาง และปลายทางท่อส่งน้ำมัน
  • ระบบ HIPPS (High Integrity Pressure Protection System) เป็นระบบควบคุมและตรวจสอบแรงดันน้ำมันในท่อส่งน้ำมัน เพื่อป้องกันแรงดันเกิน ที่อาจเกิดความเสียหายต่อระบบท่อ
  • ระบบ PIMS (Pipeline Integrity Management System) เป็นระบบตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมันในระบบท่อตลอดเส้นทาง โดยมีศูนย์กลางการควบคุมอยู่ที่สำนักงานลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ขนส่งน้ำมันแบบผลิตภัณฑ์รวม (Multi-Product)