ชุมชนสารสัมพันธ์ ฉบับที่ 60
h-index เป็นค่าที่วัดได้ในหลายระดับ คือ Author level, Institutional level คิดค้นและพัฒนาโดย Professor Jorge Hirsch นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 2005 และนิยมใช้ในการวัดคุณภาพเพื่อเปรียบเทียบนักวิจัย กลุ่มวิจัย หน่วยงาน และประเทศ
h-index คือ ตัวเลขที่แสดง “จำนวนผลงานวิจัย ที่มีจำนวนครั้งของการได้รับการอ้างอิงเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนผลงานวิจัยนั้นๆ เช่น นักวิจัย A ได้รับค่า h index = 10 หมายความว่า นักวิจัย A มีผลงานบทความวิจัยตีพิมพ์จำนวน 10 เรื่อง โดยทุกๆ บทความนั้น ได้รับการอ้างอิงอย่างน้อย 10 ครั้งหรือ มากกว่า
h-index คือ ค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง (Citations) กับลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (Article Rank Number) โดยจำนวนการอ้างถึง ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (A scientist has index h if h of his N papers have at least h citations each, and the other (N-h) papers have no more h citations each.)
h-index ประกอบด้วย 2 ค่า ได้แก่ จำนวนการอ้างถึงบทความวารสาร (Citations) และจำนวนบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ (Number of Publications) แสดงความสัมพันธ์กัน ซึ่งข้อมูลทั้งสองจำนวนนี้ มีปรากฏในฐานข้อมูลประเภทการอ้างอิงเท่านั้น เช่น ISI Web of Science, Scopus, Google Scholar และ TCI ของประเทศไทย โดยค่า h-index ของแต่ละฐานข้อมูลนั้นแตกต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับจำนวนบทความ จำนวนวารสาร และจำนวนการอ้างอิง ที่แต่ละบทความได้รับในช่วงเวลาที่กำหนดของแต่ละฐานข้อมูลแตกต่างกัน จึงทำให้การคำนวณค่า h-index แตกต่างกันด้วย